เมื่อเกิดการเจ็บป่วย สิทธิ์บัตรทองหรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าถือเป็นอีกหนึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยควรได้รับจากสถานพยาบาลของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในปี 2565 นี้ ได้มีการยกระดับบัตรทองเพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกสบาย ลดภาระค่าใช้จ่าย และสามารถเข้าถึงบริการจากหน่วยปฐมภูมิได้ทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องรอไปหน่วยบริการที่ขึ้นสิทธิไว้
การขอสิทธิ์บัตรทองจำเป็นต้องตรวจสอบสิทธิของตนเองเบื้องต้นก่อน ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือผ่าทางเว็บไซต์ www.nhso.go.th ก่อนในเบื้องต้น เนื่องจากบัตรทองเป็นสวัสดิการที่มีให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ทำงานรับจ้างที่ไม่มีสวัสดิการคุ้มครองเท่านั้น เมื่อตรวจสอบสิทธิเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถสมัครขอสิทธิ์ได้ด้วย 2 วิธีการดังนี้
วิธีสมัครขอสิทธิ์บัตรทองด้วยตัวเองที่หน่วยงาน
- ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน ได้ที่ http://report.nhso.go.th/hospital_search/Search.jsp
- ตรวจสอบสถานะการสมัคร และสถานพยาบาลที่เกิดสิทธิ
- เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ได้แก่
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
- สำเนารับรองการอยู่อาศัย เช่น ทะเบียนบ้าน หรือใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น
- กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ให้เตรียมเอกสารเพิ่มอีก 2 ส่วน คือ สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัยและหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง
- เดินทางไปลงทะเบียน
- หากพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ให้เดินทางไปติดต่อ ณ สำนักงานเขตทั้ง 19 เขตที่เปิดรับลงทะเบียน ได้แก่ หลักสี่, สายไหม, ลาดพร้าว, คลองสามวา, มีนบุรี, หนองจอก, ลาดกระบัง, บางกะปิ, ประเวศ, พระโขนง, คลองเตย, ราชเทวี, บางพลัด, ธนบุรี, บางแค, ราษฎร์บูรณะ, บางขุนเทียน และหนองแขม
- หากพักอาศัยในต่างจังหวัดให้เดินทางไปติดต่อ ณ โรงพยาบาลประจำอำเภอหรือสถานีอนามัยประจำตำบลของจังหวัดที่อาศัยอยู่
- เมื่อเดินทางไปถึงหน่วยงานของตนเองแล้ว ให้ลงทะเบียน ณ จุดบริการลงทะเบียน เพื่อเลือกหน่วยบริการในการเข้ารับการรักษาพยาบาลตามบัญชีเครือข่าย
- รอการขึ้นสิทธิหลังจากลงทะเบียน
เมื่อลงทะเบียนขอสิทธิ์บัตรทองเรียบร้อยแล้ว ให้รอการรับรองขึ้นสิทธิ โดยหน่วยงานจะแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
- รอบที่ 1 : ทะเบียนไม่เกินวันที่ 10 ของเดือน สิทธิจะขึ้นในวันที่ 15 ของเดือน
- รอบที่ 2 : ลงทะเบียนหลังวันที่ 10 แต่ไม่เกินวันที่ 22 ของเดือน สิทธิจะขึ้นในวันที่ 28 ของเดือน
หมายเหตุ :
*ในกรณีที่ย้ายสิทธิ์บัตรทอง ให้ใช้สิทธิเดิมไปก่อนจนกว่าจะผ่านการรับรองสิทธิใหม่
*ในกรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียน สถานะจะเป็นสิทธิว่างและจะสามารถใช้สิทธิได้ในกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินเท่านั้น
*ในกรณีที่เป็นผู้ลาออกจากประกันสังคม แล้วมาลงทะเบียนสิทธิบัตรทอง ต้องรีบตรวจสอบสิทธิของตนเองทันทีภายหลังจากหมดการคุ้มครองของสิทธิประกันสังคม
2. สมัครสิทธิ์บัตรทองผ่านช่องทางออนไลน์
- ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
- เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช” และกดปุ่ม “ลงทะเบียน”
- กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลงและกด “ยอมรับ”
- กรอกเลขบัตรประชาชนและสแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป
- เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน กดลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ
- ถ่ายรูปบัตรประชาชนและขณะถือบัตรประชาชน
- แนบหลักฐานแสดงที่อยู่ปัจจุบันและเอกสารอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
- กรอกที่อยู่ปัจจุบันและเลือกเครือข่ายหน่วยบริการ
หลังจากยื่นขอสิทธิ์บัตรทองแล้ว จะต้องรอประมาณ 30 วัน จากนั้นจึงจะสามารถตรวจสอบสิทธิ์ว่าสามารถใช้ได้แล้วหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้ในวันที่ 15 หรือวันที่ 28 ของเดือน แต่ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยกะทันหันในระหว่างที่รอสิทธิ์ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้ โดยสามารถเข้าไปติดต่อได้ที่หน่วยบริการที่เลือก พร้อมกับนำบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลด้วย
ถึงแม้ว่าสิทธิ์บัตรทองจะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการส่งต่อตัวเข้ารับการรักษา การเบิกยา อวัยวะเทียม หรืออุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคบางประเภท ฯลฯ ที่อาจไม่สะดวกสบายและครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้เทียบเท่าประกันสุขภาพ รวมถึงไม่มีค่าชดเชยรายได้และอาจไม่มีห้องพิเศษรองรับ เพื่อให้การรักษาพยาบาลครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จึงควรมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลและค่าห้อง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่บัตรทองไม่ครอบคลุมถึง โดยสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพจาก Rabbit Care ได้ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายที่ https://rabbitcare.com/health-insura